Phoenix Program - โครงการฟื้นคืนชีพดาวเทียม

Phoenix satellite concept (DARPA)
Defense Advanced Research Projects Agency (DARPA) วางแผนสร้างดาวเทียมเก็บกวาดซากชิ้นส่วนของดาวเทียมดวงอื่น ๆ ที่ตายแล้ว และประกอบเศษชิ้นส่วนเหล่านั้นขึ้นเป็นดาวเทียมดวงใหม่ในอวกาศภายในปี 2015 โดยใช้แขนกลขนาดยักษ์ที่บังคับได้จากบนโลก

โครงการนี้ถูกตั้งชื่อว่า Phoenix Program มีบริษัทต่าง ๆ จำนวนมากสนใจร่วมลงทุน หนึ่งในนั้นคือ NASA’s Jet Propulsion Lab หรือ JPL (ซึ่งเพิ่งจะฉลองความสำเร็จในการส่ง Curiosity ไปดาวอังคารได้เป็นผลสำเร็จ) โดยลำพังเฉพาะ JPL ก็มีส่วนแบ่งสูงถึง 36 ล้านดอลลาร์ในการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับคืนชีพให้ดาวเทียมที่ตายแล้ว

ภารกิจสำคัญของ Phoenix Program คือการรวบรวมชิ้นส่วนที่ยังคงทำงานได้เช่น จานรับสัญญาณ หรือแผงเซลล์สุริยะ จากดาวเทียมซึ่งหยุดทำงานแต่ยังคงลอยคว้างอยู่ในวงโคจรที่เรียกว่า geosynchronous orbit [1] หรือวงโคจรที่ความสูงประมาณ 35,000 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก โดยนำชิ้นส่วนพวกนั้นไปยังวงโคจรใหม่ซึ่งมีสถานีบริการสำหรับซ่อมแซมรออยู่ ทั้งหมดนี้ก็เพราะว่าการรวบรวมชิ้นส่วนเพื้อ re-cycle และประกอบสร้างดาวเทียมดวงใหม่ในอวกาศนั้นมีต้นทุนต่ำกว่าการส่งดาวเทียมใหม่เอี่ยมทั้งลำจากบนโลกขึ้นไปทำงานแทนที่ดาวเทียมที่ตายแล้วนั่นเอง

Phoenix Program จะนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีด้านหลัก ๆ ดังนี้
- Radiation tolerant micro-electronics and memory storage
- Industrial robotics end effectors and tool changeout mechanisms and techniques
- Computer-assisted medical robotics micro-surgical tele-presence, tools and imaging
- Remote imaging/vision technologies


[1]  geosynchronous orbit คือวงโคจรที่มีระยะเวลาโคจรครบรอบเท่ากับเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเอง          ดาวเทียมส่วนใหญ่เช่นดาวเทียมด้านการสื่อสารมักจะโคจรอยู่ใน geosynchronous orbit เพราะการเคลื่อนที่จะสอดคล้องกับการหมุนของโลก ทำให้สามารถเชื่อมโยงตำแหน่งที่แน่นอนในการรับ - ส่งสัญญาณระหว่าง    ดาวเทียมบนฟ้าและสถานีบนโลกได้ตลอดเวลา

อ้างอิง:    http://www.universetoday.com/
บทความที่เกี่ยวข้อง:    ใครจะเก็บ 'ขยะอวกาศ' ?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น