เจอแล้ว! ดาวเคราะห์คล้ายโลก!

ภาพเปรียบเทียบระบบสุริยะของ
Kepler-22 กับระบบสุริยของดวงอาทิตย์
นาซ่าประกาศการค้นพบดาวเคราะห์คล้ายโลก มีอุณหภูมิพอเหมาะสำหรับสิ่งมีชีวิต ดาวดวงนี้มีชื่อว่า Kepler-22b ซึ่งมีอุณหภูมิผิวประมาณ 22 องศาเซลเซียส นาซ่าได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศ เคปเลอร์ (Kepler Space Telescope)* ในการค้นพบดาวดวงนี้ ระยะเวลาการโคจรรอบดาวฤกษ์ของ Kepler-22b มีความคล้ายคลึงกันกับการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ Kepler-22bใช้เวลา 290 วัน โคจรรอบดาวฤกษ์ Kepler-22** (โลกเราใช้เวลา 365 วันในการโคจรรอบดวงอาทิตย์)

Kepler-22b มีขนาดมากกว่าโลก 2.4 เท่า แต่มวลและองค์ประกอบของพื้นผิวของดาวเคราะห์ดวงนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ถ้าเราทราบมวลของดาวเคราะห์ดวงนี้ เราจะสามารถคาดได้ว่าดาวเคราะห์ดวงนี้เป็น ของแข็ง ของเหลว หรือว่า ก๊าซ


ดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ห่างจากโลก ประมาณ 578 ปีแสง*** ซึ่งนั่นหมายความว่า ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันเราต้องใช้เวลา 22 ล้านปีเพื่อที่จะไปยังดาวเคราะห์ดวงนี้

กล้องอวกาศเคปเลอร์สามารถค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะได้ 2,326 ดวง โดย 139 ดวงมีสภาวะเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิต แม้ว่าดาวเคราะห์ Kepler-22b จะใหญ่ไปซักหน่อยแต่มันก็ยังเล็กกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ จะว่าไปดาวเคราะห์ดวงนี้ก็มี ขนาด อุณหภูมิ ใกล้เคียงกับขนาดโลกเรามากที่สุด เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์สองดวงที่ทางนาซ่าประกาศออกมาก่อนหน้านี้

*กล้องโทรทรรศอวกาศเคปเลอร์ (Kepler Space Telescope) เป็นโครงการการหาดาวเคราะห์ที่มีลักษณะเหมือนโลก ชื่อโครงการนี้คือ โครงการเคปเลอร์ นั่นเอง (Kepler Mission)

**การตั้งชื่อดาวเคราะห์จะตั้งให้สอดคล้องกับดาวฤกษ์ที่ดาวเคราะห์โคจรอยู่ เช่น Kepler-22b โคจรรอบดาวฤกษ์ชื่อ Kepler-22

***แสงใช้เวลาเดินทางเกือบๆ 3 แสน กิโลเมตร ต่อ วินาที ระยะทาง 1 ปีแสง คือ ระยะทางที่แสงเดินทางได้ใน 1 ปี

2 ความคิดเห็น: