แผนที่แร่ธาตุบนดาวพุธ

ภาพอันน่าทึ่งนี้คือแผนที่แสดงแร่ธาตุบนดาวพุธซึ่งได้จากอุปกรณ์ Visible and Infrared Spectrograph (VIRS) ของยานสำรวจ MESSENGER [1] อุปกรณ์ดังกล่าวสามารถตรวจหาแร่ธาตุที่พื้นผิวดาวพุธด้วยการตรวจวัดการสะท้อนของแสงในย่านคลื่นที่ตามองเห็นจนไปถึงย่านคลื่นอินฟราเรด

สสารภายใต้พื้นผิวที่อายุยังน้อยจะถูกรบกวนจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอวกาศไม่มากนัก ยิ่งสสารนั้นอยู่ในพื้นผิวที่อายุน้อยเท่าไหร่ ค่าความสว่างของพื้นผิวในย่านคลื่นที่ตามองเห็นจะมากขึ้น และจะถูกแสดงด้วยสีแดง เหลือง เขียว ส่วนสสารที่่คาดว่ามีองค์ประกอบของธาตุเหล็กเยอะจะถูกแสดงด้วยสีน้ำเงิน

ภาพดังกล่าวจึงไม่ใช่ดาวพุธที่สามารถสังเกตด้วยตาจริง ๆ แต่เป็นดาวพุธที่ถูกจำลองขึ้นในลักษณะ RGB colors (Red-Green-Blue) หรือการใช้สีแดง-เขียว-น้ำเงิน ผสมเข้าด้วยกันเพื่อบ่งบอกความแตกต่างของแร่ธาตุแต่ละบริเวณบนพื้นผิวดาวพุธนั่นเอง


[1] ยาน MESSENGER เดินทางไปถึงดาวพุธเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2554 เป็นยานอวกาศลำแรก
     ที่โคจรรอบดาวพุธ

เรียบเรียงจาก:
http://messenger.jhuapl.edu/gallery/sciencePhotos/image.php?gallery_id=2&image_id=825

บทความที่เกี่ยวข้อง:

5 ความคิดเห็น:

  1. แล้วการที่บางบริเวณมีธาตุเหล็กเยอะหรือน้อยนี่มันบอกอะไรเราบ้างอะ

    ตอบลบ
  2. ว่าตรงไหนควรทำเหมืองเหล็กมั้ง

    ตอบลบ
  3. อุปกรณ์ VIRS จะตรวจวัดแสงในช่วงความยาวคลื่นที่สามารถเจาะจงถึง iron and titanium-bearing silicate
    materials บนพื้นผิว ทำให้เราพอจะคาดคะเนได้ว่าบริเวณนั้นมีแร่ธาตุเฉพาะอะไรอยู่
    ยกตัวอย่างแร่ธาตุที่มีธาตุเหล็ก เช่น แร่ pyroxene (จะมีธาตุ Fe Mg Ca Si O) เป็นต้น

    "Perched atop the ultraviolet spectrometer, the Visible and Infrared
    Spectrograph (VIRS) will measure the reflected visible and near-infrared
    light at wavelengths diagnostic of iron and titanium-bearing silicate
    materials on the surface, such as pyroxene, olivine, and ilmenite."
    - http://messenger.jhuapl.edu/instruments/MASCS.html

    ตอบลบ
  4. แต่อยากรู้ว่าเราจะอยากรู้ไปทำไมว่าบริเวณไหนมีเหล็กมากหรือมีธาตุอื่นมาก อย่าบอกนะว่าจะเอามาใช้บนโลกน่ะ มนุษย์จะเห็นแก่ตัวเกินไปนะถ้าเป็นแบบนั้นน่ะ

    ตอบลบ
  5. มันก็คือส่วนหนึ่งของวิทยาศาสตร์นั่นแหละ คือการค้นหาความรู้ต่อทุกสิ่งรอบตัวเรา ส่วนใครจะเอาไปใช้ประโยชน์อะไรในทางไหนนั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่การศึกษาลักษณะทางกายภาพของดาวเคราะห์ต่าง ๆ ทำให้เราเข้าใจการเกิดลักษณะเฉพาะของพื้นผิวนั้น เข้าใจการดำรงอยู่ของแร่ธาตุ ฯลฯ ภายใต้เงื่อนไขที่เฉพาะเจาะจง และไม่สามารถศึกษาได้โดยใช้โลกของเรา เช่นสภาพร้อนมาก ๆ ของดาวศุกร์ หรือภายใต้วัฏจักรมีเทนของดวงจันทร์ไททัน สรุปคือการศึกษาเรื่องพวกนี้เปิดโอกาสให้มนุษย์ได้ทดสอบหลักการทางฟิสิกส์ภายใต้เงื่อนไขหรือสภาพแวดล้อมที่ต่างออกไปจากบนโลกอย่างสิ้นเชิง มันทำให้เราเข้าโลกของเราที่เป็นเพียงสมาชิกหนึ่งในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหลายมากขึ้น นี่ยังไม่รวมถึงประโยชน์ที่เป็นผลพลอยได้จากขั้นตอนและความพยายามอันยาวนานกว่าที่เราจะได้ความรู้พวกนี้มานะ

    ตอบลบ